วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่ารอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย ปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม  จริยธรรม มีวินัย ปลุกฝังสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเอง ได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
1.   กิจกรรมแนะแนว
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิด ตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน  และด้านอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
.   กิจกรรมนักเรียน
เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันเอื้ออาทรและสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วนตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ วางแผนปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย
2.1 กิจกรรมลูกเสือ เนตนารี ยุวกาชาด
 การจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตนารี มีแนวทางการจัดจิกกรรมตามวิธีการลูกเสือ (Scout Metthod )  ซึ่งมีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ
1.  คำปฏิญาณและกฎ   ถือเป็นหลักเกณฑ์ที่ลูกเสือทุกคนให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ กฎของลูกเสือ กฎของลูกเสือมีไว้ให้ลูกเสือเป็นหลักในการปฏิบัติไม่ได้ ห้าม ทำหรือ บังคับให้ทำแต่ถ้า ทำ ก็จะทำให้เกิดผลดีแก่ตัวเอง เป็นคนดี ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติเชื่อถือได้ ฯลฯ
2.  เรียนรู้จากการกระทำ   เป็นการพัฒนาส่วนบุคคลความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของผลงานอยู่ที่การกระทำของตนเองทำให้มีความรู้ที่ชัดเจนและสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ตัวเองและท้าทายความสามารถของตนเอง
                3.  ระบบหมู่   เป็นรากฐานอันแท้จริงของการลูกเสือเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันการยอมรับซึ่งกับและกัน การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งเป็นการเรียนรู้การใช้ประชาธิปไตยเบื้องต้น
4.   การใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ฝึกให้มีความเป็นหนึ่งเดียวในการเป็นสมาชิกลูกเสือเนตรนารีด้วยการใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ได้แก่ เครื่องแบบ เครื่องหมาย การทำความเคารพ รหัส คำปฏิญาณ กฎ คติพจน์ คำขวัญ ธง เป็นต้น วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักและภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือแห่งโลก ซึ่งมีสมาชิกทั่วโลก และเป็นองค์กรที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในโลก
5.  การศึกษาธรรมชาติคือสิ่งสำคัญอันดับ 1 ในกิจกรรมของลูกเสือธรรมชาติอันโปร่งใสตามชนบทป่าเขา ป่าละเมาะ และพุ่มไม้ เป็นที่ปรารถนาอย่างยิ่งมีการในการไปทำกิจกรรมกับธรรมชาติการปืนเขาตั้งค่ายพักแรกในสุดสัปดาห์ หรือ ตามวาระของการอยู่ค่ายพักแรมตามกฎระเบียบเป็นที่เสน่หาแก่เด็กทุกคนถ้าขาดสิ่งนี้แล้วก็ไม่เรียกว่าใช้ชีวิตแบบลูกเสือ
6.   ความก้าวหน้าในการเข้าร่วมกิจกรรม   กิจกรรมต่างๆ ที่จัดให้เด็กทำต้องให้มีความก้าวหน้าและดึงดูดใจ สร้างให้เกิดความกระตือรือร้น อยากที่จะทำและวัตถุประสงค์ในการจัดแต่ละอย่างให้สัมพันธ์กับความหลากหลายในการพัฒนาตนเองเกมการเล่นที่สนุกสนาน การแข่งขันกันก็เป็นสิ่งดึงดูดใจและเป็นการจูงใจที่ดี
7.   การสนับสนุนโดยผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้ที่ชี้แนะหนทางที่ถูกต้องให้แก่เด็กเพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจในการที่จะตัดสินใจกระทำสิ่งใดลงไปทั้งคู่มีความต้องการการซึ่งกันและกันเด็กก็ต้องการให้ผู้ใหญ่เองก็ต้องการนำพาให้ไปสู่หนทางที่ดี ให้ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและดีที่สุด จึงเป็นการร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย
2.2   กิจกรรมชุมนุม
3.   กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
                               เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม   ชุมชน   และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร   เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ   ความดีงาม   ความเสียสละต่อสังคม   และการมีจิตสาธารณะ   เช่น   กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ  กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม
การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์   เน้นให้ผู้เรียนร่วมกันสำรวจและวิเคราะห์สภาพปัญหา   ร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรม   วางแผนการจัดกิจกรรม   ปฏิบัติกิจกรรมตามแผน   ร่วมสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม   ร่วมรายงานผล   พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการจัดกิจกรรม
                                  จัดกิจกรรมในลักษณะบูรณาการใน  8   กลุ่มสาระการเรียนรู้   กิจกรรมลักษณะโครงการ   กิจกรรมร่วมกับองค์กรอื่น   เป็นกิจกรรมลักษณะเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์   โดยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจ   ตามความถนัดของผู้เรียน  เช่น
                                                               1.   กิจกรรมโรงเรียนสะอาดสวยด้วยโซน
                                                               2.   กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
                                                               3.   กิจกรรมทำความสะอาดห้องน้ำในโรงเรียนและที่สาธารณะ
                                                               4.   กิจกรรมทำความสะอาดคุ้มบ้าน
                                                               5.   กิจกรรมพื้นที่น้อยนิดเศรษฐกิจพอเพียง
                                                               6.   กิจกรรมธนาคารขยะ
                                                               7.   กิจกรรมเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่เพื่ออาหารกลางวัน
การประเมินผลกิจกรรม
                               การประเมินผลกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์   ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมให้ครบกรอบเวลาในโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2551  ตัวอย่างเช่น
                               1.   ระดับประถมศึกษา   ( ป.1 ป.6 )   มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม  60  ชั่วโมง
                               2.   ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ( ม.1 ม.3 )   มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม  45  ชั่วโมง
                                                               ผ่าน   หมายถึง   ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมครบตามเวลา   ปฏิบัติกิจกรรมและมี
                                                                                                          ผลงาน / ชิ้นงาน / คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
                                                               ไม่ผ่าน   หมายถึง   ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมครบไม่ตามเวลา   ปฏิบัติกิจกรรมหรือมี
                                                                                                                                 ผลงาน / ชิ้นงาน / คุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ถานศึกษากำหนด
                ในกรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่าน   ครูที่ปรึกษาต้องให้ผู้เรียนซ่อมเสริมการทำกิจกรรมให้ครบตามกรอบเวลาที่กำหนดในโครงสร้างของหลักสูตร
( กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น